อาณาจักรพืช


         
                อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae) พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกำเนิดขึ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 400 ล้านปี มีหลักฐานหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่าพืชมีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายสีเขียว กลุ่ม Charophytes โดยมีการปรับตัวจากสภาพที่เคยอยู่ในน้ำขึ้นมาอยู่บนบก ด้วยการสร้างคุณสมบัติต่างๆที่เหมาะสมขึ้นมา เช่น มีการสร้างคิวติน (Cutin) ขึ้นมาปกคลุมผิวของลำต้นและใบ เรียกว่า คิวทิเคิล (Cuticle) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และการเกิด สโทมาตา (Stomata) เพื่อทำหน้าที่ระบายน้ำและแลกเปลี่ยนก๊าซ เป็นต้น ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช พืชมีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยหลายเซลล์ ที่มารวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เซลล์ของพืชมีผนังเซลล์ที่มีสารประกอบเซลลูโลส (Cellulose) เป็นองค์ประกอบที่พบเป็นส่วนใหญ่ พืชทุกชนิดที่มีคุณสมบัติที่สามารถสร้างอาหารได้เอง จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยบทบาทของรงควัตถุคลอโรฟิลล์ (Cholorophyll a&b) ที่อยู่ในคลอโรพลาสต์เป็นสำคัญ รงควัตถุหลักที่พบได้ในเซลล์พืชจะเหมือนกับพบในเซลล์ของสาหร่ายสีเขียว ได้แก่ คลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี และแคโรทีนอยด์ นอกจากนี้พืชยังสะสมอาหารในรูปของแป้ง (Starch)

ความหมายของอาณาจักรพืช

อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
           พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่กำเนิดขึ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 400 ล้านปี มีหลักฐานหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่าพืชมีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายสีเขียว กลุ่ม Charophytes โดยมีการปรับตัวจากสภาพที่เคยอยู่ในน้ำขึ้นมาอยู่บนบก ด้วยคุณภาพต่างๆที่เหมาะสมขึ้นมา เช่น การสร้างคิวติน (cuticle) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และการเกิด สโทมาตา (Stomata) เพื่อทำหน้าที่ระบายน้ำและแลกเปลี่ยนก็าซ เป็นต้น
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืชมีหน้าที่สำคัญต่อระบบนิเวศคือ การทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตให้กับสายใยอาหาร  เนื่องจากพืชสามารถนำสารอนินทรีย์ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการสร้างอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตเช่น แป้งและน้ำตาล ให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ นอกจากคาร์โบไฮเดรตสิ่งที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์อาหารด้วยแสงของพืชยังมีแกสออกซิเจน ซึ่งเป็นแก๊สที่สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ในโลกนี้จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหายใจ และพืชใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบในการสร้างอาหารพืชจึงมีบทบาทในการช่วยรักษาอุณหภูมิโลกส่วนหนึ่ง ดังมีรายงานยืนยันว่าป่าในเขต Tropic มีส่วนช่วยในการลดความร้อนของโลก (อย่างไรก็ตามเนื่องจาก Scientific uncertainty ข้อมูลดังกล่าวมีข้อเสนอที่แตกต่างออกไปด้วยคือ มีรายงานบางฉบับระบุว่าป่านอกเขต Tropic เป็นตัวกักเก็บความร้อนไว้



ภาพป่าไม้มีผลต่ออุณหภูมิของโลก
               
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ประกอบขึ้นจากเซลล์แบบยูคาริโอติก แต่พืชต่างจากสัตว์ที่พืชนั้นมีผนังเซลล์ และพืชนั้นแตกต่างจากเห็ดราเพราะองค์ประกอบของผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่ พืชสามารถแปรเปลี่ยนพลังงานจากแสงให้เก็บไว้ในรูปของพลังงานเคมีโดยอาศัยรงควัตถุต่าง ๆ (ดังตารางด้านล่าง) พืชมีคลอโรพลาสต์ที่บรรจุคลอโรฟิลล์ เอ บี แคโรทีนอยด์ ด้วยลักษณะเหล่านี้ทำให้เชื่อว่าพืชนั้นมีวิวัฒนาการจากสาหร่ายสีเขียว

Taxonomic Group
Photosynthetic Pigments
Cyanobacteria
chlorophyll a , chlorphyll c , phycocyanin, phycoerythrin
Chloroxybacteria
chlorophyll a , chlorphyll b
Green Algae (Chlorophyta)
chlorophyll a , chlorphyll b , carotenoids
Red Algae (Rhodophyta)
chlorophyll a , phycocyanin, phycoerythrin, phycobilins
Brown Algae (Phaeophyta)
chlorophyll a , chlorphyll c, fucoxanthin and other carotenoids
Golden-brown Algae (Chrysophyta)
chlorophyll a , chlorphyll c, fucoxanthin and other carotenoids
Dinoflagellates (Pyrrhophyta)
 chlorophyll a , chlorphyll c , peridinin and other carotenoids
Vascular Plants
chlorophyll a , chlorphyll b , carotenoids

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช
1. เป็นพวก Eukaryotic cell ซึ่งหมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์สลับซับซ้อน โดยลักษณะเด่นของเซลล์ของพวกยูคาริโอตคือเป็นเซลล์ขนาดใหญ่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส มีโครโมโซมจำนวนหลายชุด บรรจุอยู่ในนิวเคลียสอีกทีหนึ่ง อุบัติขึ้นเมื่อ 2.5 ล้านปีก่อน หลักการของยูแคริโอตคือ การบรรจุดีเอ็นเอไว้ในโครโมโซมหลายตัวซึ่งแวดล้อมด้วยโปรตีนภายในเนื้อเยื่อของนิวเคลียส ไมโทคอนเดรียน (Mitochondrion) ทำหน้าที่หายใจ คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) สังเคราะห์แสงในการผลิตอาหารโกลจิ (Golgi) ทำหน้าที่สะสมผลผลิตไว้เป็นพลังงาน เมื่อเซลล์แบ่งตัวขยายพันธุ์ ไรโบโซม (Rybosome) จะคัดลอกรหัสพันธุกรรมจาก DNA ไปสู่เซลล์ตัวใหม่โดยใช้กระบวนการทางโปรตีน สิ่งมีชีวิตที่เป็นยูแคริโอต คือ สัตว์, พืช และ เห็ดรา ซึ่งประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ รวมทั้ง โพรทิสตา จำนวนมากที่มีเซลล์เดียว และโครมิสตา หรือสาหร่าย ในทางกลับกันสิ่งมีชีวิตอื่นอย่างเช่น อาร์เคียและ แบคทีเรียที่ขาดนิวเคลียสและเซลล์ที่สลับซับซ้อน เดิมจะถูกเรียกว่า โพรแคริโอต (Prokaryotes) ต่อมาเรียกว่า มอเนอรา และปัจจุบันแยกเป็น อาร์เคีย และ แบคทีเรีย  

  
        

ภาพ Eukaryotic cell

2. สามารถสังเคราะห์ได้ เนื่องจากมีคลอโรพลาสต์(Chloroplast) เป็นออร์เเกเเนลที่พบในพืช   เป็นพลาสติก ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช เเละสาหร่ายเกือบทุกชนิด พลาสติกมีเยื่อหุ้มสองชั้นภายในโครงสร้างพลาสติก จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์(Chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ทำหน้าที่เป็นเเหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมเเป้งที่เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้าเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น เเคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลากสติกไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์(leucoplast) ทำหน้าที่เป็นเเหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมเเป้งที่เรียกว่า เม็ดสี(starch grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต์ประกอบด้วยสิ่งสำคัญที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา(stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยเเสง โดยไม่ต้องใช้เเสง(dark reaction) มีDNA RNA เเละไรโบโซม เเละเอนไซม์อีกหลายชนิดปะปนกันอยู่ได้ 

 ภาพ chloroplast

3.  ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
4. มีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยหลายเซลล์ที่มารวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างของเซลล์ของพืชมีผนังเซลล์ที่มีสารประกอบเซลลูโลส(cellulose) เป็นองค์ประกอบที่พบเป็นส่วนใหญ่ พืชทุกชนิดมีคุณสมบัติที่สามารถสร้างอาหารได้เองจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยเเสง โดยบทบาทของรงควัตถุคลอโรฟิลล์(chlorophyll a & b) ที่อยู่ในคลอโรพลาสต์เป็นสำคัญ รงควัตถุหลักที่พบได้ในเซลล์พืชจะเหมือนกับที่พบในเซลล์ของสาหร่ายสีเขียวได้เเก่ คลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์ บี เเละเเคโรทีนอยด์ นอกจากนี้พืชยังสะสมอาหารในรูปเเป้ง(starch)

   ภาพ เเสดงการเปรียบเทียบเซลล์พืช กับเซลล์สัตว์
                 5. มีวงชีวิตเเบบสลับ (Alternation of generation) ระหว่างระยะแกมีโตไฟต์ และระยะสปอโรไฟต์ พืชสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ หากสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะสามารถพบระยะตัวอ่อน (Embryo) ได้ด้วย เนื้อเยื่อของพืชมีลักษณะพิเศษคือ สามารถทำให้เกิด dedifferentiate ได้ ดังนั้น เนื้อเยื่อของพืชที่ถูกพัฒนาไปทำหน้าที่เฉพาะอย่างแล้ว มนุษย์เราสามารถทำให้เนื้อเยื่อนั้นลืมหน้าที่ และกลับมาประพฤติตนเป็นเสมือน Stem cell อีกครั้งหนึ่งได้ และทำให้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเจริญก้าวหน้าต่อมา และอาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีการโคลน




ภาพวิวัฒนาการพืช

พืชมีท่อลำเลียง (Vascular Plants)


               

             พืชที่มีท่อลำเลียงเป็นพืชกลุ่มที่พบมากที่สุดคือ ประมาณ 250,000 ชนิด พืชกลุ่มนี้แตกต่างจาก กลุ่มไบรโอไฟต์คือ มีขนาดใหญ่ อาศัยอยู่บนพื้นดินที่ไม่จำเป็นต้องชื้นเเฉะมากอาศัยอยู่บนพื้นดินที่ไม่จำเป็นต้องชื้นเเฉะมากเป็นส่วนใหญ่ มีการพัฒนาเนื้อเยื่อไปเป็นใบที่ทำหน้าที่รับพลังงานเเสง มีรากที่ช่วยในการยึดเกาะ เเละดูดน้ำ เเละเเร่ธาตุต่างๆ มีการพัฒนาระบบท่อลำเลียง (Vascular system) เเละเพื่อเป็นการช่วยค้ำจุนท่อลำเลียงของพืชจึงต้องมีเนื้อเยื่อที่เสริมให้ความเเข็งเเรงคือLigninified tissue ซึ่งพบในผนังเซลล์ชั้นที่สอง (Secondary wall) เนื้อเยื่อลำเลียงสามารถลำเลียงน้ำเเละสารอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของพืชได้ตลอดทุกส่วนของพืช นอกจากนั้นเนื้อเยื่อผิวยังทำหน้าที่เเลกเปลี่ยนเเก็ส เเละป้องกันการสูญเสียน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

พืชใน Division Tracheopphyta มีมากมายหลายชนิดจึงแบ่งย่อยเป็น 5 Subdivision คือ
1. Subdivision Psilopsida (หวายทะนอย)
2. Subdivision Locopsida (ตีนตุ๊กแก)
3. Subdivision Sphenopsida (หญ้าหางม้า)
4. Subdivision Pteropsida (เฟิน)
5. Subdivision Spermopsida (พืชมีเมล็ด)

Subdivision Psilopsida
                พืชในดิวิชั่นย่อยนี้ส่วนใหญ่สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว เหลืออยู่เพียง 3 ชนิด คือ สกุล Psilotum 2 ชนิดคือ
Ps. nudum (L.) Pal. และ Ps. complanatum Sw. และสกุล Tmesipteris (ในประเทศไทยพบเฉพาะ Psilotum ในชื่อของหวายทะนอย หรือ Whisk fern ส่วน Tmesipteris มักพบอิงอาศัยกับพืชอื่นเช่น tree fern ไม่นิยมปลูกนำมาปลูก) ท่อลำเลียงในลำต้นของ Psilotum เป็นแบบ protostele พืชชนิดนี้มีท่อลำเลียง
     เฉพาะในส่วนของลำต้น จึงจัดว่าไม่มีรากและใบที่แท้จริง มีไรซอยด์ ไม่มีใบแต่จะมีใบเกล็ดหรือสเกล (Scale)เล็ก ๆ อยู่บนลำต้น มีลำต้นใต้ดินขนาดเล็ก ลำต้นแตกเป็นคู่ หรือ Dichotomous branching สร้างSporangia อับสปอร์เกิดอยู่บนลำต้นหรือกิ่งตรงบริเวณมุม ซึ่ง Sporangia ประกอบด้วย 3 Sporangia   เชื่อมติดกัน เรียก Synangium ภายในเกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้สปอร์ สปอร์มีชนิดเดียวคือมีลักษณะเหมือนกันทั้งหมด (Homospore) เมื่อสปอร์งอกเกิดเป็นแกมมีโตไฟต์ขนาดเล็กสีน้ำตาลอาศัยอยู่ในดิน หรืออาจมีหลายรูปแบบเช่น รูปร่างทรงกระบอกมีการแตกแขนง และมีเชื้อราเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยเชื้อราเอื้อประโยชน์ให้กับแกมมีโตไฟต์โดยช่วยดูดซึมสารไนเตรทฟอสเฟตและสารอินทรีย์อื่น ๆ ให้กับแกมมีโตไฟต์ แกมมีโตไฟต์จะสร้าง Antheridium ซึ่งจะทำหน้าที่สร้าง Sperm และ Archegonium ซึ่งจะทำหน้าที่สร้าง Eggแล้วมีการผสมพันธุ์กันได้ต้น Sporophyte ต้นใหม่
ภาพระยะแกมมีโตไฟต์ของหวายทะนอย

ภาพหวายทะนอยระยะสปอโรไฟต์


Subdivision Lycopsida
พืชใน Subdivision นี้มีท่อลำเลียงในส่วนของ ลำต้น ใบ และราก ซึ่งเกิดตั้งแต่ยุคดีโวเนียน แม้จะสูญพันธุ์ไปแล้วหลายชนิดแต่ยังสามารถพบได้บ้างในปัจจุบันเช่น Lycopodium Selaginella Phylloglossum
Isoetes ชนิดพันธุ์ที่พบในประเทศไทยเช่น สามร้อยยอด (Lycopodium cernuum L.) ช้องนางคลี่
(Lycopodium phlegmaria L.) หางสิงห์ (Lycopodium squarrosum Forst.) Selaginella involuta
Spreng. Selaginella roxburghii Spreng. Lycopodium หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Club moss Ground pine หญ้าสามร้อยยอด และช้องนางคลี่ มักพบตามชายป่าดิบแล้งหรือดิบชื้น ที่เห็นทั่วไปเป็นต้นในระยะสปอร์โรไฟต์ อาจดำรงชีวิตเป็นอีพิไฟต์ (Epiphyte) หรือขึ้นบนดิน ลำต้นมีทั้งลำต้นใต้ดิน และเหนือดิน ลำต้นเหนือดินมีขนาดเล็กเรียว มีทั้งตรงหรือคืบคลานแผ่ไปตามผิวดิน แตกกิ่งแบบ 2 แฉก มีราก แตกกิ่งแบบ 2 แฉก มีใบขนาดเล็ก (Microphyll)จำนวนมาก เรียงตัวติดกับลำต้นแบบวนเป็นเกลียว หรือวนเป็นวง หรือตรงข้าม สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์เป็นสปอร์ชนิดเดียวเหมือนกันหมด สปอร์อยู่ภายในอับสปอร์ซึ่งอยู่บนใบสปอโรฟิล (Sporophyll) โดยอยู่ในซอกใกล้กับฐานใบ สปอโรฟิลมีขนาดต่าง ๆ กัน ถ้ามีขนาดเล็กมากก็จะอยู่รวมอัดกันอยู่บนแกนเดียวกัน เกิดเป็นโครงสร้างเรียกว่า สโตรบิลัส (Strobilus หรือ Cone) ซึ่งอาจมีก้านชูหรือไม่มีก้าน สปอร์มีจำนวนมาก ขนาดเล็ก ผนังสปอร์มีลวดลายคล้ายตาข่าย อาจมีการสืบพันธุ์แบบไม่ใช่เพศโดยการสร้าง Gemmae คือกลุ่มเซลล์ ซึ่งจะเจริญงอกขึ้นเป็นต้นสปอโรไฟต์ต้นใหม่ ส่วนสปอร์จะปลิวไปตกตามดินแล้วเจริญเป็นต้นแกมีโตไฟต์ ซึ่งมีการสร้างทั้งแอนเทอริเดียม ซึ่งทำหน้าที่สร้างสเปิร์ม และมีอาร์คีโกเนียม ซึ่งสร้างไข่ เมื่อมีการผสมพันธุ์กันก็จะได้ต้นสปอโรไฟต์ต้นใหม่ แกมมีโตไฟต์ที่อยู่ใต้ดินจะอยู่ร่วมกับราไมคอร์ไรซา ส่วนที่อยู่เหนือดิน เรียกว่า Prothallus

ภาพ Lycopodium

ส่วน Selaginella เป็นพืชขนาดกลางหรือขนาดเล็ก มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Lycopodium มีการแตก
กิ่งก้านมากแตกกิ่งแบบ 2 แฉก ลำต้นอาจตั้งตรงหรือแผ่ปกคลุมดิน ใบมีขนาดเล็ก เรียงตัวติดกับ ลำต้นแบบวนเป็นเกลียว หรือเรียงเป็นแถว 4 แถว มีลิกิวล์ (Ligule) อยู่ที่ฐานของใบแต่ละใบและที่ด้านบนใบด้วย มีความยาวของลำต้น ผิวของลำต้นมักสากเพราะมีทรายจับเกาะ ตรงบริเวณข้อของลำต้นจะมีสเกล ซึ่งมีลักษณะคล้ายใบเล็ก ๆ แห่ง ๆ สีน้ำตาล ติดอยู่โดยเรียงตัวรอบข้อ (Whorled) ที่ข้อยังมีการแตกกิ่งซึ่งก็แตกแบบรอบข้อเช่นเดียวกัน โดยแตกออกมาเรียงสับหว่างกับสเกล ภายในลำต้นจะกลวงยกเว้นบริเวณข้อจะตันสืบพันธุ์โดย การสร้างสปอร์ภายในอับสปอร์ สปอร์ที่สร้างเป็นชนิดเดียวกันหมด และมีจำนวนมาก อับสปอร์จะเกิดอยู่บนปลายสุดของกิ่ง โดยเกิดอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มบนโครงสร้างที่เรียกว่า สปอแรนจิโอฟอร์(Sporangiophore) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายโล่ ด้านหน้าเห็นเป็น 6 เหลี่ยม ส่วนด้านในจะมีอับสปอร์ที่ไม่มีก้านติดอยู่ประมาณ 5-10 อับต่อ 1 สปอแรนจิโอฟอร์ ซึ่งสปอแรนจิโอฟอร์จำนวนมากนี้จะติดอยู่กับแกนกลางของสโตรบิลัส (Strobilus) อับสปอร์จะแตกตามยาว สปอร์มีขนาดเล็กภายในมีคลอโรฟิลล์ ที่ผนังสปอร์จะมีเนื้อเยื่อยาว คล้ายริบบิ้น 4 แถบ เจริญออกมาแล้วพันอยู่รอบสปอร์เรียกว่า อีเทเลอร์ (Elater) จะช่วยในการกระจายของสปอร์ เมื่อสปอร์ปลิวไปตกตามพื้นดินก็จะงอกเป็นต้น แกมีโตไฟต์ขนาดเล็ก ซึ่งมีแอนเทอริเดียม ทำหน้าที่สร้างสเปิร์ม และอาร์คีโกเนียมทำหน้าที่สร้างไข่ สเปิร์มเข้าผสมกับไข่แล้วเจริญขึ้นเป็นต้นสปอรโรไฟต์ต่อไป

ภาพ โครงสร้างของหญ้าหางม้า



ภาพหญ้าหางม้า

Subdivision Pteropsida
พืชในกลุ่มนี้ได้แก่เฟิน มีสมาชิกประมาณ 12,000 ชนิด จัดเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในพืชกลุ่มไม่มีเมล็ด มีความหลากหลายมาก บางชนิดพบอยู่ในเขตร้อน บางชนิดอยู่ในเขตอบอุ่นหรือแม้กระทั่งทะเลทราย จำนวนชนิดของเฟินเริ่มลดลงเนื่องจากความชื้นที่ลดลง และเนื่องจากเฟินเป็นพืชที่มีความหลากหลายมาก บางสกุลมีใบขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช เช่น Marattia เป็นสกุลหนึ่งของเฟินต้น มีใบยาวถึง 9 เมตร กว้างประมาณ 4.5เมตร นอกจากนี้ยังมี เฟินสกุลอื่นที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น Salvinia (จอกหูหนู) และ Azolla (แหนแดง) มีใบขนาดเล็กมาก ส่วนเฟินที่นิยมนำมาเป็นตัวอย่างในการศึกษาถึงลักษณะทั่วไปของเฟินมักอยู่ใน Order Filicales มีสมาชิกประมาณ 10,000 เช่น Pteridium aquilinum


ภาพ Marattia salicina
ภาพ (ซ้าย) แหนแดง(ขวา) จอกหูหนู
         เฟินที่ขึ้นอยู่ทั่วไปนั้นเป็นต้นสปอร์โรไฟต์ เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงแต่ไม่มีแคมเบียมและเนื้อไม้ ลักษณะทั่วไปของเฟินคือ มีราก เป็นรากที่แตกออกจากลำต้นจึงเจริญเป็นรากวิสามัญ (Adventition root) มีลำต้นเรียกว่า ไรโซม (Rhizome) ใช้เรียกทั้งต้นที่อยู่ใต้ดินหรือเหนือดินก็ได้ ไรโซมอาจมีลักษณะตั้งตรงหรือวางทอดขนานกับดิน หรืออาจไหลไปตามผิวดิน การเกิดใบและรากบนไรโซมจะมี 2 แบบคือแบบที่ใบและรากเกิดอยู่คนละด้านของไรโซม โดยจะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับบนไรโซมเรียกว่า Dorsiventral construction และแบบที่ 2เป็นแบบที่ไรโซมจะตั้งตรง ส่วนใบและรากจะติดอยู่รอบไรโซมนั้น เรียกว่า Radial construction ใบเรียกว่าฟรอน (Frond) มีทั้งเส้นใบแตกแบบไดโคโทมัส และแบบร่างแห ใบเจริญจากลำต้นใต้ดินหรือเหง้าซึ่งมี 2 แบบคือ ใบเดี่ยว และใบประกอบมีลักษณะพิเศษคือมีความแก่อ่อนในใบ ๆ เดียวกันนั้นไม่เท่ากัน โคนใบจะแก่กว่าปลายใบจะอ่อนกว่า ทำให้ปลายใบม้วนงอเข้าหาโคนใบเรียกว่า Circinate vernation (การเจริญไม่เท่ากันเกิดจาก ผิวด้านล่างเจริญเร็วกว่าด้านบน)       

                                          

ภาพ Circinate vernation ในเฟิน

ใบเฟินบางชนิดทำหน้าที่ขยายพันธุ์เช่น บริเวณปลายสุดของใบเกิดเป็นเนื้อเยื่อเจริญและแบ่งตัวให้พืชต้นใหม่เรียกเฟินแบบนี้ว่า Walking fern (Asplenium rhizophllum )


ภาพ Walking fern

       นอกจากนี้ใบเฟินยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างคือ ไม่สร้างสตรอบิลัส แต่บริเวณด้านท้องใบสร้างสปอร์ สปอร์อยู่ภายใน Sporangia ซึ่ง Sporangia อาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Sorus (พหูพจน์ : Sori) บางชนิดจะมีเยื่อบางหุ้มซอรัสไว้ เรียกเยื่อนี้ว่า Indusium การสืบพันธุ์ จะมีพืชต้นสปอโรไฟต์ เด่นกว่าแกมีโตไฟต์ ต้นสปอโรไฟต์จะสร้างอับสปอร์ ซึ่งภายในมีสปอร์ อับสปอร์เกิดอยู่ด้านหลังใบ (Abaxial surface หรือLower surface) สปอร์เฟินที่มีรูปร่างคล้ายกันเรียก Homospores แต่ละ Sporangia ล้อมรอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า Annulus ซึ่งมีผนังหนาไม่เท่ากัน ผนังด้านนอกบางมาก และแตกออกเมื่ออากาศแห้งทำให้สปอร์กระจายไปได้ สปอร์จะงอกเป็น Protonema เจริญเป็นแกมมีโตไฟต์รูปร่างคล้ายรูปหัวใจ (Heartshaped)ยึดกับดินโดยใช้ Rhizoid แกมมีโตไฟต์สร้างอวัยวะสืบพันธุ์ทั้ง 2เพศ จึงจัดเป็น Monoecious โดยArchegonium เกิดบริเวณรอยเว้าตรงกลางของหัวใจ (Apical notch) ฝังลงในแกมมีโตไฟต์    ส่วนAntheridium เกิดบริเวณด้านบน สเปิร์มว่ายมาผสมกับไข่ที่ Archegonium เกิดเป็นสปอร์โรไฟต์ หลังจากนั้นแกมมีโตไฟต์จะสลายไป


ภาพ Sori ของเฟิร์น


ภาพ วงชีวิตของเฟิร์น


ภาพ เฟิร์นน้ำในสกุล Marsilia (ผักแว่น) ใช้กินได้



ภาพว่านลูกไก่ทอง (Cibotium sp.) ใช้ขนดูดซับห้ามเลือด

Subdivision Spermopsida
       เป็นกลุ่มพืชที่มีท่อลำเลียง และมีเมล็ดซึ่งจัดว่ามีวิวัฒนาการสูงสุด สามารถจำแนกได้เป็น กลุ่มพืชดอกในคลาส Angiospermae และกลุ่ม Gymnosperm ซึ่งประกอบด้วยพืชในคลาส Pteridospermae
Cycadae Gingkoae Coniferae และ Gnetopsida พืชเหล่านี้ไม่มีดอก แต่มีเมล็ดแบบ Nake seed
เนื่องจาก ovule ไม่มีรังไข่ห่อหุ้ม มี Heterospore สร้าง Strobilus หรือ Cone แบบแยกเพศ Cone เพศผู้
เรียกว่า Staminate cone ส่วน Cone เพศเมียเรียกว่า Pistillate cone การปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวใน Xylem มีเทรคีต ไม่มีเวสเซลล์
Class Pteridospermae : เป็นพืชที่มีลักษณะโบราณ (Primitive) ใบมีลักษณะคล้ายเฟิร์น เมล็ดเกิดขึ้นที่ส่วนของใบ จึงเรียกพืชกลุ่มนี้ว่า Seed fern ลำต้นส่วนใหญ่มีเนื้อไม้ ไม่พบในปัจจุบันแตjพบได้ในยุคดีโวเนียน และยุคคาร์บอนิเฟอรัสตัวอย่างสกุลที่พบเช่น Neuropteris และ Emplectopteris



ภาพ (ซ้าย) ฟอสซิลของ Neuropteris (ขวา) Emplectopteris

        Class Cycadae : เป็นพืชที่เรียกทั่วไปว่า Cycads หรือปรง พบได้ตั้งแต่ยุค Permian และแพร่กระจายมากในยุค Jurassic ในปัจจุบันเหลือประมาณ 9 สกุล 100 ชนิด ชอบขึ้นในเขตร้อน พบทั่วไปในป่าเต็งรัง ในประเทศไทยพบ 1 สกุลคือ Cycad เช่น C. rumpii (ปรงทะเล) C. siamensis (มะพร้าวเต่า) C. circinalis(มะพร้าวสีดา) C. micholitzii (ปรง) พืชในกลุ่มนี้เป็นพืชบก มีลักษณะคล้ายพวกปาล์ม ลำต้นตรง ไม่มีการแตกกิ่ง อาจมีลำต้นใต้ดิน หรือลำต้นอยู่ใต้ดินทั้งหมด มีแต่ใบที่โผล่ขึ้นเหนือดินเป็นกอ มีการเติบโตช้ามาก
          โดยทั่วไปสูงประมาณ 1 เมตรแต่บางชนิดอาจสูงถึง 18 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ติดกับลำต้นแบบวนเป็นเกลียว ใบมักเป็นกระจุกอยู่ที่ยอดลำต้น ที่ลำต้นส่วนล่าง ๆ จะเห็นรอยแผลเป็นที่ก้านใบเก่าร่วงไป ใบจะมีอายุยืนติดทนนาน ใบอ่อนมีลักษณะคล้ายใบเฟิร์นคือ ม้วนงอ โดยปลายใบย่อยจะม้วนงอเข้าหาแกนกลางของก้านใบ มีการสร้างสปอร์ 2 ชนิดคือ ไมโครสปอร์ จะเกิดอยู่ในไมโครสปอแรนเจียม ซึ่งอยู่บนไมโครสปอร์
Class Ginkgoae : พืชกลุ่มนี้ได้แก่ แป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba) หรือที่เรียกว่า Maldenhair tree จัดเป็น
Living fossil อีกชนิดหนึ่งพบได้ตั้งแต่ยุค Permian ปัจจุบันพบเป็นพืชพื้นเมืองในจีน และญี่ปุ่น และเจริญแพร่พันธุ์เข้าสู่ยุโรปและอเมริกาในบริเวณอบอุ่นถึงหนาว พืชในกลุ่มนี้เป็นพืชขนาดใหญ่สูงถึง 100 ฟุต มีกิ่งก้านสาขา เนื้อไม้ไม่มีเวสเซล (Vessel) ไซเลมทีเทรคีต ใบเป็นใบเดี่ยวรูปพัดที่ยอดของปลายใบมักเว้าลึกเข้ามาในตัวแผ่นใบ ทําให้ดูเหมือนตัวแผ่นใบแยกเป็น 2 ส่วน (Bifid) เส้นใบเห็นชัดว่ามีการแยกสาขาแบบแยกเป็น 2 แฉก (Dichotomous) แต่จะไม่เป็นร่างแห ใบติดกับกิ่งแบบสลับ

ภาพ ใบแป๊ะก๊วย

ภาพ การเปลี่ยนสีใบจากเขียวเป็นเหลืองในฤดูใบไม้ร่วงของต้นแป๊ะก๊วย

กิ่งบนลำต้นจะมี 2 ชนิดคือ กิ่งยาว (Long shoot) เป็นกิ่งที่มีใบธรรมดาไม่มีการสร้างอวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ ส่วนกิ่งอีกชนิดหนึ่งคือ กิ่งสั้น (Spur shoot) จะเป็นกิ่งสั้น ๆ มีใบติดอยู่เป็นกลุ่ม และมีการสร้าง
อวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์คือ อวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้เกิดบนช่องสโตรบิลัสเพศผู้ และอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียเกิดบนช่องสโตรบิลัสเพศเมีย ซึ่งสโตรบิลัสทั้งสองชนิดนี้จะเกิดอยู่คนละต้นกันจึงแยกเป็นต้นเพศผู้และต้นเพศเมีย สโตรบิลัสเพศผู้มีลักษณะเป็นช่อยาวแบบแคทกิน ไม่มีแบรค บนช่อจะมีใบสปอโรฟิลล์จำนวนมาก ซึ่งแต่ละใบเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะเป็นก้านชูที่ปลายก้านมีอับสปอร์เพศผู้ 2 อับติดอยู่ ส่วนสโตรบิลัสเพศเมียมีลักษณะเป็นก้านยาว ปลายสุดเห็นโอวูลติดอยู่ 2 อัน ซึ่งมักจะเป็นหมันเสีย 1 อัน เมื่อโอวูลนี้ได้รับการผสมก็จะเจริญเป็นเมล็ด มีลักษณะคล้ายผล เพราะภายนอกมีเนื้อนุ่ม ต้นอ่อนภายในเมล็ดมีใบเลี้ยง 2ใบ  

ภาพ (ซ้าย)Strobilus และ (ขวาผล ของแป๊ะก๊วย


Class Coniferae : พืชส่วนใหญ่ในคลาสนี้ถูกเรียกว่า Conifer ได้แก่ สนชนิดต่าง ๆ ที่แพร่กระจายมาตั้งแต่
ยุค Triassic และ Jurassic จนถึงปัจจุบัน พบได้ตั้งแต่เขตหนาวขั้วโลกจนถึงเขตอบอุ่น และบนภูเขาสูงในเขตร้อนอย่างประเทศไทยเช่น สนสามใบหรือสนเกี๊ยะ สนสองใบ เป็นต้น ส่วนใหญ่พืชกลุ่มนี้เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเป็นที่รู้จักกันดีหลายชนิดเช่น Pine Spruce Fir Cedar Juniper Larch
Hemlock Cypress Yew Redwood พืชในกลุ่มนี้เนื้อไม้มีการเจริญขั้นที่สอง ใบเรียงตัวติดกับลำต้นแบบวนเป็นเกลียวหรือตรงข้าม ใบมักมีรูปร่างเป็นรูปเข็ม บางชนิดใบมีลักษณะเป็นเกล็ด ใบสีเขียว ระบบรากเป็นรากแก้วมักพบ Mycorhyza ที่รากด้วย ไซเลมประกอบด้วยเทรคีตเป็นส่วนใหญ่ คอร์เทกซืของต้นมักมีน้ำมันหรือยางที่มีกลิ่นเฉพาะ ในการสืบพันธุ์พบว่า สโตรบิลัสเพศผู้และสโตรบิลัสเพศเมียมักเกิดอยู่บนต้นเดียวกัน (Monoecious) สโตรบิลัสเพศเมียประกอบด้วยสเกล (Megasporophyll) ทำหน้าที่สร้างโอวูล (Ovuliferous scale) ในแต่ละสโตรบิลัสมีสเกลหลายอัน แต่ละสเกลมักมีโอวูล 2 อัน ส่วนสโตรบิลัสเพศผู้จะประกอบด้วยสเกล (Microsporophyll)จำนวนมาก แต่ละสเกลจะมีการ สร้างละอองเกสรตัวผู้อยู่ภายในถุง (Pollensac) เมื่อโอวูลได้รับการผสมจะเจริญเป็นเมล็ดที่ภายในมีต้นอ่อนที่มีใบเลี้ยงตั้งแต่ 2 ใบจนถึงเป็นจำนวนมาก


ภาพ Redwood และ Larch



ภาพ (ซ้าย) ใบยิว (ขวา) ใบสน


ภาพ วงชีวิตของสน

Class Gnetopsida : เป็นพืชกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีสมาชิกเพียง 3 สกุลคือ Gnetum Ephedra และ Welwitshia
 มีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกับพืชดอก จึงจัดเป็น Gymnosperm ที่มีวิวัฒนาการสูงสุด ส่วนใหญ่พบในเขตแห้งแล้งหรือทะเลทราย บางชนิดพบในเขตร้อน
พืชในกลุ่มนี้มีทั้งไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบตรงข้ามหรือเรียงรอบข้อ เนื้อไม้มีการเจริญขั้นที่สองและมี Vessel โดยทั่วไปจะแยกเป็นต้นเพศผู้และต้นเพศเมีย มีการสร้างอวัยวะสร้างเซลล์
สืบพันธุ์เพศเมียบนช่องสโตรบิลัส เพศเมียซึ่งมีโอวูลแต่ละโอวูลมีนูเซลลัส (Nucellus) ล้อมรอบเซลล์สีบพันธุ์เพศผู้สร้างบนช่อสโตรบิลัสเพศผู้ ผสมพันธุ์แล้วได้เมล็ดที่ต้นอ่อนภายในเมล็ดมีใบเลี้ยง 2 ใบ
ตัวอย่างของพืชกลุ่มนี้ที่พบในประเทศไทยเช่น มะเมื่อย Gnetum gnemon L. วงศ์นี้เป็นวงศ์ที่พืชมี
ลักษณะเจริญที่สุด พืชมีลักษณะเป็นไม้เลื้อยหรือไม้ยืนต้น เนื้อไม้มีการเจริญขั้นที่สอง ใบเดี่ยวแผ่กว้าง มีเส้นใบเรียงตัวเป็นร่างแห ใบติดกับลำต้นแบบตรงข้าม ต้นแยกเป็นตัวเพศผู้และต้นเพศเมีย สโตรบิลัสมีลักษณะคล้ายช่อดอกแบบสไปค์ พืชวงศ์นี้มีลักษณะใกล้เคียงคล้ายใบเลี้ยงคู่มาก


ภาพ มะเมื่อย

ส่วน Ephedra เป็นพืชที่มีลักษณะทั่วไปเป็นไม้พุ่ม ขึ้นอยู่ในที่แห้งแล้งดินทรายอาจสูงถึง 2 เมตร ลำต้นยืดยาวมีสีเขียวเห็นข้อและปล้องชัดเจน ใบเป็นใบเกล็ดที่ข้อลำต้นข้อละ 2 ใบ แบบตรงข้าม หรือแบบรอบข้อ มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์อยู่คนละต้น โดยต้นเพศผู้จะสร้างสโตรบิลัสเพศผู้ ซึ่งประกอบด้วยแบรคซ้อนกันและมีไมโครสปอรโรฟิลล์ที่สร้างอับสปอร์เพศผู้ ส่วนต้นเพศเมียจะสร้างสโตรบิลัสเพศเมียซึ่งประกอบด้วยแบรคที่สร้างโอวูลไว้ภายใน ซึ่งหลังจากการผสมพันธุ์ แล้วก็เจริญเป็นเมล็ด Ephedra นี้มีความสำคัญทางการแพทย์เพราะเป็นแหล่งให้สารเอฟฟิดริน (Ephedrine) ซึ่งใช้รักษาโรคหอบหืดเพราะมีฤทธิ์ขยายหลอดลมพืชในสกุล Welwitschia มักขึ้นอยู่ตามทะเลทรายแห้งแล้ง ลักษณะลำต้นเป็นทรงแท่งรูปกรวย มีรากยาว มีใบ 2 ใบ ใหญ่ยาวเป็นแถบติดกับลำต้นแบบตรงข้าม เส้นใบเรียงขนาน ใบคู่นี้จะติดกับลำต้นไปจนตลอดชีวิต ซึ่งอาจมากกว่า 100 ปี ใบที่ยาวประมาณ 2 เมตรนี้ จะม้วนงอเป็นริบบิ้น ปลายใบจะเหี่ยวแห้งขาดไปขณะที่ ฐานใบจะงอกออก มาใหม่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ อาจแยกเป็นต้นเพศผู้ ซึ่งจะสร้างสโตรบิลัสเพศผู้ ซึ่งมีไมโครสปอร์ ส่วนต้นเพศเมียจะสร้างสโตรบิลัสเพศเมียซึ่งมีโอวูล เมื่อผสมพันธุ์จะเจริญเป็นเมล็ด


ภาพWelwitschia

ภาพ Ephedra
Class Angiospermae : หรือ บางตำราจัดไว้ใน Division Magnoliophyta หรือเรียกอีกชื่อว่า
Anthophyta (Angiosperms) พืชมีท่อลำเลียงจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มหรือ 2 คลาส คือ คลาส


Magnoliopsida (Dicotyledons) และคลาส Liliopsida (Monocotyledons) โดยพืชทั้งสองกลุ่มมีความ
แตกต่างกันดังตารางเปรียบเทียบ
สิ่งที่เปรียบเทียบ
Magnoliopsida (Dicotyledons)
Liliopsida (Monocotyledons)

เอมบริโอ
เอมบริโอมีใบเลี้ยง 2 ใบ ส่วนใหญ่เจริญเหนือดิน เมล็ดอาจมีหรือไม่มีเอนโดสเปิร์ม
เอมบริโอมีใบเลี้ยง 1 ใบ ส่วนใหญ่เจริญใต้ดิน เมล็ดมี เอนโดสเปิร์ม
รูปแบบการเจริญเติบโต
เป็นพืชล้มลุกหรือพืชมีเนื้อไม้
ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก
ใบ
เส้นใบแบบร่างแห
เส้นใบแบบขนาน

ดอก
กลีบดอก 4 หรือ 5 กลีบ หรือทวีคูณของ 4 หรือ 5
กลีบดอก 3 กลีบ หรือทวีคูณของ 3


ระบบท่อลำเลียง
ส่วนใหญ่มีแคมเบียม จึงมีการเจริญขั้นที่ 2 การเรียงตัวของท่อลำเลียงเป็นระเบียบ
ส่วนใหญ่ไม่มีแคมเบียม จึงไม่มีการเจริญขั้นที่ 2 การเรียงตัวของท่อลำเลียงกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ
ระบบราก
รากเป็นระบบรากแก้ว
รากเป็นระบบรากฝอย

         พืชในคลาสนี้เป็นพืชมีดอก (Flowering plants) มีประมาณ 300,000 ชนิดอยู่ได้ทั่วไปทุกแห่งหน บางชนิดมีอายุเพียงฤดูกาลเดียว บางชนิดอายุยืนหลายร้อยปี บางชนิดมีขนาดใหญ่เกือบ 10 เมตรเช่น ยูคาลิปตัส แต่บางชนิดมีขนาดเล็กมากเช่น ผำ หรือไข่น้ำ (Wolffia )



ภาพ ผำ

          ลักษณะทั่วไปของพืชกลุ่มนี้คือ มีราก ใบ ลำต้นที่แท้จริง มีระบบท่อลำเลียงเจริญดีมาก Xylem ประกอบด้วยVessel เป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ ส่วน Phloem ทำหน้าที่ลำเลียงหาร มีอวัยวะสืบพันธุ์คือ ดอกเจริญอยู่บนก้านดอก มีทั้งที่เป็นดอกสมบูรณ์ และดอกไม้สมบูรณ์ ดอกสมบูรณ์ ประกอบด้วย Sepal Petal Stamen และ Pistil เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม เมื่อรังไข่พัฒนาเต็มที่จะกลายเป็นผล มีการปฏิสนธิซ้อน มีวงชีวิตแบบสลับ แกมีโตไฟต์มีขนาดเล็กอยู่บนสปอโรไฟต์

ภาพ การปฏิสนธิซ้อนในพืชดอก


ภาพ วงชีวิตแบบสลับของพืชดอก



ภาพ ภาพตัดขวางลำต้นพืช


ภาพ เปรียบเทียบพืชดอกชนิดใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่